วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550

บทที่5-6 วิชาการเงินส่วนบุคคล

วิชาการเงินส่วนบุคคล
**************************************************
หน่วยที่ 5
การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์
เป็นองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของตลาดทุน
ตลาดทุน (Capital Market)
แหล่งในการระดมเงินออม
ระยะยาวเพื่อนำมาจัดสรรแก่ผู้
ต้องการเงินทุนระยะยาวนำไป
ใช้ขยายธุรกิจ การลงทุนด้านการสาธารณะรัฐบาล
การลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมและพณิชยกรรม
ประเภทของตลาดทุน
1. ตลาดแรกหรือตลาดหลักทรัพย์ออกใหม่ ตลาดที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ออกเป็นครั้งแรก
2. ตลาดรองหรือตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ ตลาดที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์จากตลาดแรกมาก่อน เป็นตลาดที่สนับสนุนตลาดแรกช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนของการลงทุน
ตลาดรองแบ่งได้ 2 ประเภท
1.ตลาดหลักทรัพย์ (Securities Market) สถาบันการเงินที่ส่งเสริมการระดมเงินออมและจัดสรรเงินทุน
2. ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาด (Over the Counter) การซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์มีที่ทำการอยู่ ณ ห้องค้าหลักทรัพย์ของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทหลักทรัพย์
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand)
สถาบันการเงินในตลาดรอง ควบคุมดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ ส่งเสริมการระดมเงินออมเพื่อการลงทุนในกิจการต่างๆ จัดสรรเงินทุนในตลาดทุนอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว
วิวัฒนาการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ
สมัยกรุงศรีอยุธยา แผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ
มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งปันสินทรัพย์ระหว่างพ่อค้าที่ร่วมลงทุนด้วยกันและข้อกำหนดเรื่องการขายหุ้นทำกิจการค้า
กรุงรัตนโกสินทร์
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีการค้าขายกับต่างประเทศอย่างเสรีหลังทำสัญญาเบาว์ริงกับประเทศอังกฤษ
มีการลงทุนทางการค้าและอุตสาหกรรมมากทำให้เกิดความต้องการใช้ทุนจำนวนมากแต่ในช่วงแรกฯของยุครัตนโกสินทร์เรื่องการซื้อขายหลักทรัพย์ยังไม่เด่นชัด
ในรัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้เปิดดำเนินการธนาคารพาณิชย์แห่งแรกในประเทศไทย เมื่อ 2 ธันวาคม 2431
พ.ศ. 2411-2453 เริ่มมีสถาบันการเงินต่างๆและธนาคาร
เปิดดำเนินการเพื่อระดมเงินออมจากประชาชนมาสนับสนุนทางการเงินแก่
ธุรกิจได้แก่บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต ธนาคารออมสิน
ประเทศไทยมีการออกกฎหมายฉบับแรกที่กล่าวถึงการเข้าหุ้นทำ การค้าในรูปบริษัท
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช
พ.ศ. 2496 เป็นต้นมาบริษัทเบิร์ดจำกัดจดทะเบียนประกอบธุรกิจนายหน้า
และค้าหุ้นอย่างเป็นทางการเป็นบริษัทแรก
พ.ศ. 2503 รัฐบาลเริ่มวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและเริ่มพัฒนาตลาดทุน
มีการจัดตั้งบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมีนักธุรกิจชาวต่างประเทศจัดตั้งสถาบันการเงินประเภทบริษัทจัดการลงทุน ใช้ชื่อว่า “กองทุนรวมไทย”
เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ 3 ลักษณะ
1.การประกอบกิจการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
2.กิจการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์
3.กิจการจัดการกองทุนรวม
พ.ศ. 2515 ออกกฎหมายกำหนดให้สถาบันการเงินประเภทธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย
20พฤษภาคม 2517 ประเทศใช้ พ.ร.บ. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517
เพื่อให้เป็นศูนย์การซื้อขายหลักทรัพย์แห่งเดียวในราชอาณาจักร เริ่มเปิด ซื้อขายหลักทรัพย์เป็นครั้งแรกในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518
26 กันยายน 2527 ประกาศใช้ พ.ร.บ. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ฉบับที่ 2. เพื่อพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์และมีมาตรฐานเดียวกันสำหรับธุรกิจหลักทรัพย์ให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น
16 พฤษภาคม 2535 รัฐบาลได้ตรา พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535ออกใช้พร้อมทั้งตั้งคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลตลาดทุน การออกจำหน่ายหลักทรัพย์ การดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ธุรกิจหลักทรัพย์และสถาบันที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนและธุรกิจหลักทรัพย์
บทบาทหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
1. ส่งเสริมการออมทรัพย์และการระดมเงินทุนในประเทศ
2. สนับสนุนการเป็นเจ้าของธุรกิจและอุตสาหกรรมในประเทศ
3. ช่วยให้การซื้อขายหลักทรัพย์มีสภาพคล่อง
4. คุ้มครองผลประโยชน์แก่ผู้ลงทุน
5. เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์
องค์ประกอบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
-สถานที่ซื้อขายหลักทรัพย์ / ห้องค้าหลักทรัพย์
-บริษัทสมาชิกตลาดหลักทรัพย์
-หลักทรัพย์
-ผู้ลงทุน
หลักทรัพย์
หลักทรัพย์จดทะเบียน
หลักทรัพย์ของบริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนกับตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย
-มีทุนจดทะเบียนหุ้นสามัญไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท
-มีผู้ถือหุ้นสามัญไม่ต่ำกว่า 300 ราย
หลักทรัพย์รับอนุญาต
หลักทรัพย์ของบริษัทขนาดเล็ก ที่จดทะเบียนรับอนุญาตกับตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
-มีทุนจดทะเบียนหุ้นสามัญไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท
-ผู้ถือหุ้นสามัญไม่ต่ำกว่า 50 ราย
-บริษัทตั้งใหม่ที่มีทุนจดทะเบียนหุ้นสามัญไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาทและผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 50 ราย
หลักทรัพย์จดทะเบียน( Listed Security )
หุ้นสามัญ - ตราสารทุน ที่ผู้ลงทุน ซื้อหุ้นจะเข้าไปมีส่วนรวมในธุรกิจและเป็นเจ้าของกิจการ
-ผลตอบแทนทางตรง
-เงินปันผล
-ผลประโยชน์ทางอ้อม
-กำไรจากการขายหุ้น
หุ้นบุริมสิทธิ์ - ตราสารทุนที่ผู้ลงทุนมีสิทธิ์ได้รับชำระคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ
-มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลใช้อัตราคงที่เหมือนอัตราดอกเบี้ยจ่ายของหุ้นกู้
-ได้รับสิทธิในการแปรงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้
(หลักทรัพย์จดทะเบียน)
หุ้นกู้ - ตราสารหนี้ ที่ออกโดยบริษัทเอกชน เพื่อกู้เงินระยะยาวจากผู้ลงทุน ผลตอบแทน คือดอกเบี้ยตามระยะเวลาในการไถ่ถอน
หุ้นกู้แปลงสภาพ - หุ้นกู้ที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ในช่วงเวลาและ ราคาที่กำหนด
ผลตอบแทน ผลกำไรจากราคาหุ้นสามัญที่แปลงสภาพมากกว่า ดอกเบี้ยหุ้นกู้
พันธบัตร - สัญญาเงินกู้ที่เปลี่ยนมือได้ - เป็นตราสารหนี้ออกโดยรัฐบาลผลตอบแทนคือ ดอกเบี้ย
ใบสำคัญแสดงสิทธิ - ตราสารที่ระบุสิทธิการจองซื้อหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ หุ้นกู้ ในราคาที่กำหนด ตามเวลาที่ระบุไว้
ใบสำคัญแสดงสิทธิในระยะสั้น - ตราสารที่มีอายุไม่เกิน 2เดือนใช้แทนสิทธิในการจองซื้อหุ้น
หลักทรัพย์จดทะเบียน
ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ - ตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธุในการซื้อขายหลักทรัพย์อ้างอิง ในราคาใช้สิทธิ์อัตราการใช้สิทธิ์และระยะเวลาตามที่กำหนด
ใบแสดงสิทธิผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย - ตราสารอนุพันธ์ซึ่งมีมูลค่ามาจากสินทรัพย์หรือตัวแปรอ้างอิงซึ่งอาจเป็นหลักทรัพย์หรือดัชนี หลักทรัพย์หน่วยลงทุน
- ตราสารที่ออกโดยบริษัทจัดการลงทุน เป็นกองทุนเพื่อระดมทุนจากประชาชนมีผู้บริหารกองทุนให้เกิดผลตอบแทนแล้วนำมาเฉลี่ยเป็นเงินปันผลใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนโอนสิทธิได้
-ตราสารที่ให้สิทธิ์แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทตามสัดส่วนของหุ้นเดิมที่ถือ
อยู่ใบแสดงสิทธิผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง
- ตราสารที่ออกจำหน่ายแก่ผู้ลงทุนที่มีสัญชาติไทยจากบริษัทสยามดีอาร์จำกัดซึ่งจัดตั้งโดย
ตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย
-ผลประโยชน์ที่เกิด คือสิทธิผลประโยชน์ทางการเงินและสิทธิในการออกเสียงลงคะแนน
มาตรการคุ้มครองผู้ลงทุน
1. พัฒนาคุณภาพของบริษัทจดทะเบียน ด้านระบบการควบคุมและตรวจสอบภายใน
2. เพิ่มประโยชน์ตอบแทนจากการลงทุน เพื่อดึงดูดการลงทุน
3. เสริมสร้างเสถียรภาพและสภาพคล่องในการซื้อขายหลักทรัพย์
4. กำกับดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ให้ยุติธรรมและน่าเชื่อถือ
5. พัฒนาช่องทางการเผยแพร่ข้อมูล และจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้แก่ผู้ลงทุน
ภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
-เงินลงทุนซื้อหลักทรัพย์นำมาหักเป็นเงินลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
-หุ้นปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ยกเว้นภาษี
-กำไรจากการขายหลักทรัพย์ ยกเว้นภาษี
-เงินปันผล จากบริษัทจดทะเบียน บริษัทจำกัด
บริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
-ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%
-นำเงินปันผลมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
หลักเกณฑ์การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
1.ความเสี่ยงทางการเงิน
2.ความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ย
3.สภาพคล่องที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว
4.ผลตอบแทนและผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ
5.อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ / ค่าเงิน
6.ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
7.ปัจจัยทางการเมืองที่กระทบต่อราคาหุ้น / หลักทรัพย์
8.ปัจจัยเกี่ยวกับหลักทรัพย์ เช่นผลกำไร การเพิ่มทุนการจ่ายปันผลและฐานะการเงินของบริษัท
การวิเคราะห์ทางเทคนิค
1.ราคาหุ้น
-รูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น (ราคาน่าซื้อไปสู่ราคาน่าขาย)
-ใช้ราคาตลาดในอดีตพยากรณ์ราคาในตลาดในอนาคตของหุ้น
2. ปริมาณซื้อขาย.
-ศึกษาราคาหุ้นที่มีความสำคัญกับปริมาณซื้อขายหุ้น

ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการซื้อขายหลักทรัพย์
การพิจารณาภาพรวมของตลาดหลักทรัพย์ประกอบด้วย
1.ดัชนีราคาหุ้น - เพื่อดูแนวโน้มของราคาหุ้นและการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น
2.ปริมาณการซื้อขาย - เพื่อแสดงภาวะที่มีผู้ลงทุนหนาแน่นหรือซบเซาที่กระทบกับปริมาณซื้อขาย
3.จำนวนหุ้นที่มีราคาปิดสูงขึ้น-ลดลงหรือเท่าเดิมซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาวะตลาดหลักทรัพย์
การพิจารณาคุณภาพหุ้น
-ราคา พิจารณาจำนวนเงินที่ลงทุนว่าเหมาะสมกับการซื้อขายหุ้นหรือไม่
-ราคาปิดต่อราคาหุ้นเพื่อพิจารณาว่าจะใช้เวลากี่ปีในการที่กำไรต่อหุ้นจะรวมกันมีค่าเท่ากับราคาปิดของหุ้นนั้น
-อัตราเงินปันผลตอบแทน แสดงถึงคุณภาพของหุ้นในการให้ผลตอบแทนในรูปเงินปันผล
-ปริมาณการซื้อขาย สภาพคล่องของหุ้นที่มีผลต่อปริมาณซื้อขายหลักทรัพย์
-การพิจารณาหุ้นในเชิงธุรกิจการเงิน การวิเคราะห์ศักยภาพการเติบโต ความมั่นคงเข้มแข็งเชิงทางการเงินของหุ้นที่จะลงทุน
ขั้นตอนการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
1. วางแผนการลงทุน
2. เปิดบัญชีเงินฝากเพื่อใช้สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์
3. ติดต่อบริษัทหลักทรัพย์ / โบรกเกอร์สมัครเป็นสมาชิกและขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อชำระค่าซื้อขายหลักทรัพย์ (ใช้บัญชีเงินสด หรือ ใช้บัญชีมาร์จิน)
4. ส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ (ห้องค้าหลักทรัพย์ ส่งทางโทรศัพท์ ส่งทางอินเทอร์เน็ต)
5. การศึกษาหน่วยซื้อขาย ช่วงราคา ราคาซื้อขายสูงสุด / ต่ำสุด การเปลี่ยนแปลงของดัชนี
หน่วยที่6
1. ความหมายและความเป็นมาของกองทุนรวม
2. โครงสร้างของกองทุนรวม
3. บทบาทของกองทุนรวม
4. ข้อดีและข้อเสียของการลงทุนในกองทุนรวม
5. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวม
6. ประเภทของกองทุนรวม
7. หลักการลงทุนในกองทุนรวม
หน่วยที่6
การลงทุนในกองทุนรวม การลงทุนเป็นกองทุนที่เกิดจากการระดม ทุนจากผู้ลงทุนรายย่อยรวมกันเป็นเงินลงทุนก้อนใหญ่-มีผู้บริหารกองทุน-นำให้ได้ผลตอบแทนและนำมาเฉลี่ยคืนให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนตามสัดส่วนที่ลงทุน หน่วยลงทุน
(unit trust) – หลักฐานยืนยันความเป็นเจ้าของเงินลงทุน (มูลค่าตราไว้= 10 บาท/หน่วยลงทุน)เงินกองทุนไปลงทุน
ผู้บริหารกองทุน คือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม(บลจ.)
1.เป็นผู้จัดตั้งและบริหารกองทุนรวม
2.ติดตามดูแลการลงทุนในกองทุนรวม
การลงทุนของกองทุนรวม
กองทุนตราสารทุน(Equity Fund)
กองทุนตราสารหนี้(Fixed Income Fund)
กองทุนตลาดเงิน(Money Market Fund)
กองทุนผสม(Balanced Fund)
กองทุนเพื่อการลงทุนซื้อทรัพย์สินต่างๆ
ความเป็นมาของกองทุนรวม
ธุรกิจจัดการลงทุนมีการจัดตั้งครั้งแรก 14 มีนาคม 2518 คือ บริษัทกองทุนรวม จำกัด
เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท หลักทรัพย์กองทุนรวม จำกัด(29 ธันวาคม 2518)
กองทุนรวมโครงการแรกในประเทศไทย พ.ศ.2520
โครงการกองทุนสินภิญโญ เน้นการลงทุนในหุ้นสามัญ
-อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวมจำกัด
-ขนาดของกองทุนมีมูลค่า 10 ล้านบาท
-แบ่งเป็น 5 ล้านหน่วยลงทุนมูลค่า หน่วยละ 20 บาท
เดือนมีนาคม 2535 รัฐบาลสนับสนุนให้จัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุนอีก 7 แห่ง
-เกิดการแข่งขันธุรกิจกองทุนรวม
-มีการใช้เครือข่ายธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์เป็นตัวแทนการขายหน่วยลงทุน
-มีการออกกฎหมายคุ้มครองผู้ลงทุน
(กองทุนรวมที่ขายรุ่นแรก เน้นการลงทุนในหุ้นสามัญ)
เมื่อดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปรับตัวลดลง(4 มกราคม 2537เป็นต้นมา)
และวิกฤติเศรษฐกิจปีพ.ศ.2540 การดำเนินงานของกองทุนรวมเกิดผลขาดทุนจากกองทุนรวมประเภทหุ้น
มีการเปลี่ยนแปลงเป็นการลงทุน
ในกองทุนรวมตราสารหนี้
ปี พ.ศ. 2545 มีการจัดตั้งโครงการลงทุนใหม่ๆขึ้นและบริษัททรัพย์จัดการกองทุนรวมมีจำนวนจัดตั้งเพิ่มขึ้นรวมเป็น 18 บริษัท
โครงสร้างของกองทุนรวม
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวม
-บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมหรือบริษัทจัดการลงทุน (บลจ.)
(เสนอขายหน่วยลงทุน)
(แจกจ่ายหนังสือชี้ชวนแก่ผู้สนใจลงทุน)
-สมาคมบริษัทจัดการลงทุน( AIMC )
( กำหนดจรรยาบรรณ วางมาตรฐานการปฏิบัติงานแก่บริษัท
สมาชิกผู้จัดการกองทุนรวม)
( กำหนดบทลงโทษเมื่อมีการฝ่าฝืน )
-สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( สำนักงาน ก.ล.ต )
( พัฒนากำกับดูแลการดำเนินธุรกิจจัดการลงทุน )
( ออกกฏเกณฑ์ ประกาศข้อบังคับ ข้อกำหนด)
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวม
-ผู้ดูแลผลประโยชน์ (Trustee )
( ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ถือหน่วยลงทุน )
( รักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน )
( ตรวจสอบการบริหารจัดการกองทุนรวม )
( ชำระค่าซื้อและค่าขายทรัพย์สินของกองทุนรวม )
( เป็นตัวแทนการดำเนินคดีฟ้องร้องแทนผู้ถือหน่วยลงทุน)
-ตัวแทนสนับสนุนการขายหน่วยลงทุน
(แนะนำ เสนอขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามกฎหมาย)
-นายทะเบียนหน่วยลงทุน
(ดูแล จัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม)
-ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
(ตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของกองทุนรวม)
(ให้ความเห็นชอบงบการเงินของกองทุนรวม)
บทบาทของกองทุนรวม
1. พัฒนาตลาดทุนและตลาดการเงินให้เกิดเสถียรภาพการลงทุนภายในประเทศ
2. เป็นแหล่งเงินทุนในการดำเนินงานและขยายกิจการของบริษัทจดทะเบียน จากการลงทุนจากหลักทรัพย์เปิดจองใหม่ หรือหลักทรัพย์เพิ่มทุน
3. สร้างจุดดึงดูดการลงทุนต่างประเทศในรูปของเจ้าของหน่วยลงทุนแทนการลงทุนโดยตรงจากหลักทรัพย์
4. เกิดการพัฒนาตราสารทางการเงินให้เกิดคุณภาพและด้านผลตอบแทนในการแข่งขันการระดมเงินทุน
ข้อดีของการลงทุนในกองทุนรวม
1. มีผู้ดูแลและตัดสินใจลงทุนแทนผู้ลงทุน โดยมีผู้จัดการกองทุนที่เชี่ยวชาญ
2. มีอำนาจการต่อรองเพื่อสร้างโอกาสในการลงทุนมากขึ้นจากการบริการข้อมูลและข่าวสารของบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ
3. มีการกระจายความเสี่ยงที่ดีกว่านักลงทุนรายย่อยที่ลงทุนด้วยตนเอง
4. มีสภาพคล่องสูงในการได้รับเงินคืนจากการซื้อขายหน่วยลงทุนได้ดีกว่าการลงทุนในหลักทรัพย์อื่นๆ
5. นักลงทุนสามารถเลือกรูปแบบและนโยบายการลงทุนตามจุดหมายได้
6. มีการคุ้มครองแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามมาตรการโดยสำนักงาน ก.ล.ต.
7. ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับรายได้ที่เกิดจากการลงทุนในหลักทรัพย์ของกองทุนรวมหรือยกเว้นภาษีกำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์
ข้อเสียของการลงทุนในกองทุนรวม
1. ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมตลอดระยะเวลาแม้ว่าผลการบริหารกองทุนจะเกิดผลขาดทุนก็ไม่มีการยกเว้น
2. ผู้ถือหน่วยลงทุนขาดสิทธิการเข้าร่วมในการตัดสินใจบริหารจัดการลงทุน
3. ขาดความคล่องตัวในการลงทุน เนื่องจากต้องลงทุนผ่านบริษัทจัดการลงทุน
4. ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมได้รับข้อมูล / ข่าวสารการลงทุนล่าช้า
5. ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่สามารถบริหารสภาพคล่องการลงทุนได้เต็มที่ เนื่องจากอายุโครงการ และกฎหมายการถือครองหลักทรัพย์
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวม
-พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ม. 117 - 132
-ประกาศของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
-ประกาศของคณะกรรมการก.ล.ต
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
1. ผู้ถือหน่วยลงทุน
1.1 ได้รับเงินปันผล -หักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 10
-นำเงินปันผลที่ได้ไปรวมคำนวณ กับรายได้อื่นๆเพื่อเสียภาษีสิ้นปี
1.2 เงินได้จากการขายหน่วยลงทุน – ได้รับยกเว้นภาษี
2.กองทุนรวมที่เกิดรายได้ (ยกเว้นภาษี)
- เงินปันผล
- ดอกเบี้ยรับ
- ส่วนลดรับ
- กำไรส่วนเกินทุน
ประเภทของกองทุนรวม
-กองทุนรวมตามลักษณะการจัดจำหน่ายและการไถ่ถอนหน่วยลงทุน
-กองทุนรวมแยกประเภทตามนโยบายการลงทุน
กองทุนรวมตามลักษณะการจัดจำหน่ายและการไถ่ถอน
( มีการแบ่งประเภทตามเงื่อนไขการซื้อขายกับผู้ถือหน่วยลงทุน )
กองทุนปิด ( Closed –end Fund ) - กองทุนชนิดไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกำหนดอายุโครงการจำนวนหน่วยลงทุนไม่เพิ่มขึ้น
กองทุนเปิด ( Open –end Fund ) - กองทุนชนิดรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเป็นกองทุนไม่มีกำหนดอายุโครงการจำนวนหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
กองทุนรวมแยกประเภทตามนโยบายการลงทุน
( แบ่งตามนโยบายการลงทุน 10 แบบมาตรฐานของสำนักงาน ก.ล.ต. )
กองทุนรวมตราสารแห่งทุน ( Equity Fund ) - กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้น
กองทุนรวมตราสารหนี้ ( Genaral Fixed Income Fund ) – กองทุนรวมที่มีนโยบายเลือกลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธนบัตรรัฐบาล หุ้นกู้
กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะยาว ( Long – Term Fixed Income Fund ) - กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว
กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะสั้น ( Short – Term Fixed Income Fund ) - กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี กองทุนรวมตลาดเงิน
( Money Market Fund )
กองทุนรวมที่มีนโยบายคล้ายกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะสั้น
ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยเช่น ตั๋วเงิน พันธบัตร เงินฝากธนาคาร
กองทุนรวมผสม ( Balanced Fund )
กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารทุกประเภทตามสัดส่วน
การลงทุนในตราสารทุนในอัตราร้อยละ 35 – 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
กองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่น ( Flexible Portfolio Fund )
กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนตามสัดส่วน เงินลงทุนในตราสารทุนและตราสารหนี้กองทุนรวมหน่วยลงทุน ( Fund of Funds )
กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใบสำคัญแสดงสิทธิ ( Warrant Fund )
กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในใบสำคัญ แสดงสิทธิในการซื้อขายหลักทรัพย์ต่างๆ
กองทุนรวมกลุ่มธุรกิจ ( Sector Fund )
กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารทุนของกิจการกลุ่มธุรกิจประเภทเดียวกัน
กองทุนรวมประเภทพิเศษ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ( Property Fund )
-กองทุนรวมที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีรายได้สม่ำเสมอหรือกำไรเพิ่มจากการขายอสังหาริมทรัพย์
กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ( Foreign Investment Fund ) FIF )
-กองทุนที่นำเงินที่ได้จากการขายหน่วยลงทุนภายในประเทศไปลงทุนในต่างประเทศเกี่ยวกับตราสารทุนหรือตราสารหนี้
กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น ( Principle Capital Protection Fund )
-กองทุนรวมที่ลงทุนในพันธนบัตร / ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำเพื่อคุ้มครองเงินต้นของหน่วยลงทุน แบ่งได้ 2 แบบ
-แบบ Passive - ลงทุนในพันธบัตร / ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำประมาณ 90 % และส่วนที่เหลือจะลงทุนในตราสารทุนที่มีความเสี่ยงมากกว่า
- แบบ Active - ลงทุนในตราสารทุนมากกว่าพันธบัตร / ตราสารหนี้กรณีที่ราคาหลักทรัพย์สูงขึ้นโดยไม่ให้มูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่ำกว่ามูลค่าที่เริ่มต้น
กองทุนรวมแบบมีประกัน ( Guarantee Fund )
-กองทุนรวมที่มีการรับประกันการจ่ายคืนเงินลงทุน พร้อมด้วยผลตอบแทนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามเงื่อนไขที่กำหนด
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ( Retirement Mutual Fund : RMF )
กองทุนรวมที่มีจุดมุ่งหมายส่งเสริมการออมเงินไว้ใช้ยามเกษียนอายุได้รับสิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษีโดยไม่ต้องนำ RMF ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ร้อยละ 15 แต่ไม่เกิน 300,000 บาท
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว ( Long Term Fixed Income Fund : LIF )
กองทุนรวมที่รวมหุ้นสามัญ จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทยได้รับสิทธิประโยชน์ ลดหย่อนภาษีเงินด้บุคคลธรรมดา
สูงสุดไม่เกิน 15 % แต่ไม่เกิน 300,000 บาท
หลักการลงทุนในกองทุนรวม
1.เตรียมความพร้อมก่อนลงทุน
1.1 เงินที่จะลงทุน-เงินออม
1.2 กำหนดจุดมุ่งหมายในการลงทุน ( ผลตอบแทน + ความเสี่ยง )
1.3 ศึกษาข้อมูลการลงทุน (วัตถุประสงค์ + เงื่อนไขของกองทุนรวม )
2.วางแนวทางการลงทุน
2.1 กระจายความเสี่ยงในการลงทุน
-การถือครองหน่วยลงทุนหลายๆกองทุนรวม
2.2 การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
-หน่วยลงทุนที่มีคุณภาพดี
- มีราคาตลาดต่ำกว่า มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ
2.3 การลงทุนหน่วยแบบเฉลี่ย
-กำหนดเงินลงทุนเป็นงวด
3.การเลือกซื้อหน่วยลงทุน
3.1 ศึกษาหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน
-ข้อมูลสำคัญ
-สถานที่ของบริษัทจัดการลงทุน
-จำนวนเงินทุนจดทะเบียน
-วัตถุประสงค์ นโยบายการลงทุนของโครงการ
-วิธีการจ่ายเงินปันผล
-หลักเกณฑ์และระยะเวลาการรับซื้อหน่วยลงทุนและการขายคืน
-รายละเอียดเกี่ยวกับสาเหตุที่เกิดความเสี่ยง
-ค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นต้นทุนของการลงทุน
-ข้อแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน
-วัน เดือน ปี ที่รวบรวมข้อมูล / ตีพิมพ์
3.2 เลือกหาบริษัทจัดการลงทุน
-พิจารณาพื้นฐาน ประวัติความเป็นมา จำนวนลูกค้าและมูลค่าทรัพย์สิน
-ประเภทและบริการทางด้านการลงทุน / ความเชี่ยวชาญ
-แนวทางดำเนินงาน / วินัยและจรรยาบรรณ / สถานที่ทำการ / เครือข่าย / ระบบการสั่งซื้อขาย
3.3 เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวม
-ร้อยละของผลตอบแทนจากมูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วยที่เปลี่ยนแปลง
-เปรียบเทียบผลตอบแทนกับความเสี่ยง
3.4 ให้ความสำคัญต่อค่าใช้จ่ายจากการลงทุนในกองทุนรวม
ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม
- ค่าธรรมเนียมการจัดการ
- ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลประโยชน์
- ค่าใช้จ่ายดำเนินงานของนายทะเบียน
ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อ / ผู้ถือหน่วยลงทุน
- ค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุน
- ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
Expense Ratio = ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของการลงทุนในกองทุนรวม/มูลค่าทรัพย์สินสุทธิถัวเฉลี่ย
อัตราส่วนต่ำ = เกิดผลดีมีค่าใช้จ่ายน้อย
3.5 ปฏิบัติตามขั้นตอนของการซื้อขายหน่วยลงทุน
1.เปิดบัญชีกับเจ้าหน้าที่การตลาดของบริษัทจัดการลงทุน
2.ขอแนะนำจากผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
ผู้ติดต่อประเภท ก.
- บุคคลที่ทำหน้าที่วิเคราะห์หลักทรัพย์และให้คำแนะนำตามบทวิเคราะห์ของตน
ผู้ติดต่อประเภท ข.
- ผู้ขายหลักทรัพย์ที่ให้คำแนะนำจากข้อมูลที่ได้จากผู้วิเคราะห์หลักทรัพย์
3. ติดตามผลการลงทุน
-จากหนังสือพิมพ์
-จากบริษัทจัดการลงทุน
-เว็บไซต์ของบริษัทจัดการลงทุน / สมาคมบริษัทลงทุน / กองทุนรวม